มุมมองใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้กัญชาและพืชกระท่อมทางการแพทย์ (ตอนที่ 1) - ไทยรัฐ ~ Kampung Kabar
Skip to main content

มุมมองใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้กัญชาและพืชกระท่อมทางการแพทย์ (ตอนที่ 1) - ไทยรัฐ

kampungkabar.blogspot.com

ระดับที่สอง ความเสรีในการปลูกหรือสกัดกัญชาในระดับชุมชน คำว่า “ชุมชน” ในที่นี้มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ การปลูกในบริเวณชุมชนที่สามารถควบคุมดูแลการปลูกและการนำไปใช้ได้ เช่น การปลูกในสถานีอนามัยหรือที่เรียกว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล หรือแพทย์ครอบครัวอยู่ตรงนั้นเพื่อควบคุมดูแลด้วย ทำให้การปลูก การสกัด และนำมาใช้ได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง

หรืออีกกรณีหนึ่งที่มีการคิดกันคือ การปลูกที่วัด ซึ่งในขณะนี้มีวัดมากมายที่ปลูกและใช้ใบหรือดอกมาสกัดเพื่อแจก จ่ายให้กับผู้ป่วย อย่างไร ก็ดี ทั้ง รพ.สต. และวัดจะต้องมีความสามารถในการควบคุมดูแลทั้งการปลูก การสกัด และการนำไปใช้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความเข้มแข็งร่วมมือร่วมใจของชุมชน อันได้แก่ เหล่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

โดยเราจะให้ความรู้แก่ อสม. และให้ อสม.เป็นผู้ให้คำแนะนำในการใช้กัญชาอย่างถูกวิธีให้กับคนในหมู่บ้าน โดยมี อปพร.ซึ่งเป็นฝ่ายมหาดไทยเข้าไปควบคุมดูแลสอดส่อง

ฉะนั้น อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลูกเองในครัวเรือน แต่สามารถเอากัญชาที่ปลูกในชุมชนมาใช้ได้ ในขณะเดียวกันก็จะมี อสม.เข้าไปช่วยดูแล

สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ถือเป็นการอบรมให้แก่คนกลุ่มเล็กๆ (อสม.) เพื่อนำ ไปถ่ายทอดต่อให้กับคนกลุ่มใหญ่ขึ้น ซึ่งเมื่อได้สารสกัดกัญชามาในอนาคตก็สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ว่าน้ำมันกัญชานั้นๆมีความเข้มข้นกี่มิลลิกรัม โดยไม่ต้องไปลองผิดลองถูกหรือซื้อหาจากแหล่งที่ไม่ได้มาตรฐานมาลองเองแบบผิดๆ จนเป็นอันตรายต้องเข้าโรงพยาบาล

กรณีนี้ถ้าเรารู้จำนวนปริมาณ จำนวนมิลลิกรัมที่แน่นอน เวลาแจกจ่ายให้กับคนในหมู่บ้าน หรือคนในชุมชน ก็สามารถระบุได้เลยว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไร

อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดความรู้เรื่องการสกัดกัญชานั้นจะต้องให้ความรู้อีกเรื่องหนึ่งควบคู่กันไปด้วย นั่นก็คือ ผู้ป่วยที่จะใช้กัญชาในพื้นที่นั้นๆ มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เพราะโรคบางโรค เช่น โรคตับ โรคไตซึ่งค่อนข้างรุนแรง สตรีมีครรภ์ หรือคนไข้ที่มีประวัติว่ามีอาการป่วยทางจิตหรือเป็นไบโพลาร์ หรือมีคนในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้ อาจมีข้อห้ามใช้

ซึ่งในกรณีนี้ควรหลีกเลี่ยงไปใช้สารสกัดอื่นแบบที่ไม่เมาแทน หรือที่เราเรียกว่า “กัญชง” ปัจจุบันเส้นใยกัญชงสามารถนำมาทำเสื้อ กระเป๋า และเชือกได้ เมล็ดกัญชงสามารถสกัดเป็นโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกมีความต้องการเป็นอย่างมาก

ส่วนดอกกัญชงจะให้สารสกัดแบบที่ไม่เมา ต้นกัญชงจึงไม่ใช่สิ่งเสพติด แต่เนื่องจากต้นกัญชาและต้นกัญชงมีความคล้ายคลึงกันในหลายลักษณะ จนทำให้เกิดความสับสนและยากต่อการจำแนก ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลเลยเกิดการต้องห้ามปลูกต้นกัญชงไปด้วย

ในกรณีเช่นนี้เราสามารถใช้กัญชงแทนกัญชาสำหรับคนไข้ที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าไม่ควรใช้กัญชาได้

ดังนั้น ในระดับชุมชน ที่มีสถานีอนามัย หรือ รพ.สต. วัด เป็นเครือข่ายเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำ ในขณะเดียวกันก็ร่วมกันสอดส่องระมัดระวังมิให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเข้าถึงและใช้งานไปในทางที่ผิดได้ ถือเป็นการใช้พลังประชาชนคอยควบคุม โดยไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ถือเป็นการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนขึ้นแบบหนึ่ง ทั้งนี้ ในการใช้บังคับกฎหมายหรือการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกัญชาต้องมีความเข้าใจก่อนว่าผู้ใช้เป็นคนป่วยและเป็นคนป่วยที่เข้าไม่ถึงการรักษาแผนปัจจุบันหรือการรักษาแผนปัจจุบันนั้น มีข้อจำกัดคือ การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันหรือยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียงเกินกว่าที่คนป่วยจะรับได้ ต้องเข้าใจธรรมชาติของคนป่วยด้วยว่าทำไมจึงมีความจำเป็นต้องไปใช้กัญชาในการรักษาโรค

ระดับที่สาม ในระดับต่อมาคือ เราจะทำอย่างไรให้มีการปลูกกัญชาได้อย่างเสรีโดยถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้มีการออกใบอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร

ดังนั้น ในกรณีที่มีการปลูกกัญชาในครัวเรือน วัด หรือสถานีอนามัย ให้หัวหน้าหมู่บ้านรวบรวมรายชื่อผู้ที่ปลูกกัญชาทั้งหมด เพื่อไปติดต่อกับวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตรที่มีเครือข่ายอยู่ในทุกตำบลและหมู่บ้านในประเทศไทย เพื่อรวบรวมและจดทะเบียนเป็นผู้ปลูกกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบดูแลได้

สำหรับคำถามที่ว่า เราจะทำให้กัญชากลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจได้หรือไม่นั้น เราเห็นว่าทำได้แต่ต้องเป็นการผลิตในระดับที่ใหญ่ขึ้นมาเป็นระดับ Mass Production คือ เป็นการผลิตในปริมาณมาก โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้แรงงาน และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยมีราคาถูกลง

โดยการแบ่งการปลูกกัญชาออกเป็นการปลูกเพื่อใช้ในการรักษาตนเอง และการปลูกเพื่อรักษาผู้อื่นนั้น ถือว่ามีความสำคัญมากในการที่ประชาชนคนไทยได้ใช้สิทธิของตนในการที่จะดูแลรักษาสุขภาพและชีวิตของตน และข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ประชาชนมีสิทธิที่จะใช้กัญชาในรูปแบบที่คุ้นเคย กล่าวคือ เมื่อเคี้ยวใบกัญชาแล้วหายปวดเมื่อยก็สามารถเคี้ยวได้ หรือปวดเข่า ปวดข้อ เป็นโรครูมาตอยด์ก็สามารถที่จะทำน้ำมันกัญชาใช้เองได้

สิ่งนี้ถือเป็นหลักการสำคัญที่จะทำให้ประชาชนตระหนักถึงการได้รับความ คุ้มครองจากรัฐ โดยการที่รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถดูแลรักษาตนเองได้ย่อมส่งผลทำให้รัฐได้ประโยชน์โดยการประหยัดงบ
ประมาณด้านสาธารณสุขไปด้วย.

หมอดื้อ

Let's block ads! (Why?)



"ใช้" - Google News
September 06, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2QUDCJo

มุมมองใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้กัญชาและพืชกระท่อมทางการแพทย์ (ตอนที่ 1) - ไทยรัฐ
"ใช้" - Google News
https://ift.tt/3dmEIHq
Home To Blog

Comments

© 2020 Kampung Kabar

Designed by Open Themes & Nahuatl.mx.